งานเสาเข็มตอกด้วยรถปั้นจั่นตอกเสาเข็ม
งานตอกเสาเข็มตอกขนาดใหญ่ มักเป็นในเขตที่ห่างไกลจากสถานที่อาคารใกล้เคียง เนื่องจากการตอกเสาเข็มจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนต่อดินโดยรอบอาจส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง จนเกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้การเลือกใช้เสาเข็มตอกในการก่อสร้างต้องดูสภาพบริเวณโดยรอบ เช่น ถนนทางเข้าสามารถนำเสาเข็มเข้าได้หรือไม่รวมทั้งสภาพไซต์งานที่ต้องใช้เครื่องจักรในการทำงาน ซึ่งขั้นตอนการทำงานและรายละเอียดสามารถแบ่งได้เป็นขั้นตอนหลักดังนี้
1. ขั้นตอนการวางหมุดและขนย้ายเสาเข็มเข้าโครงการ
1.1 สำรวจพื้นที่ ก่อนนำเสาเข็มเข้าโครงการต้องทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
1.2 วางแผนการตอก,การวางหมุด
การวางหมุด
1.3 ทดสอบหาความยาวเสาเข็มเช่น จุดหนึ่งน่าจะใช้ความยาวอยู่ที่ 20 เมตร ถ้าจะใช้เสาเข็มสองต้นต่อเชื่อมกันต้องเผื่อความยาวเสาเข็มไว้สัก 1 - 2 เมตรหรือตามเหมาะสม
1.4 การวางเสาเข็มเป็นจุดๆ ตามความสะดวกในการตอก
วางเสาเข็มเป็นจุดๆ
จุดลงเสา
2. ขั้นตอนการขนย้ายรถปั้นจั่นตอกเสาเข็ม
2.1 รถปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ชนิดตีนตะขาบ ใช้เวลาในการเตรียมรถตอก ไม่ถึง 20 นาที ก็สามารถตอกได้เลยทันที ไม่ต้องเสียเวลาประกอบ สะดวก รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายถูกกว่า (ปั้นจั่นประกอบ)
ปั้นจั่นตอกเสาเข็มชนิดตีนตะขาบ
2.2 ปัก offset ที่จะทำการตอกเสาเข็
3. ขั้นตอนการตอกเสาเข็ม
3.1 ใช้ลวดสลิงสำหรับลากเสาเข็มขึ้นสู่แท่นตอก
การตอกเสาเข็ม
3.2 ปรับวางเสาเข็มให้ตรง offset และปรับเสาเข็มให้อยู่ในแนวดิ่งโดยมีการส่องดิ่งด้านหน้าและด้านข้างของปั้นจั่น ซึ่งดีเซลแฮมเมอร์หรือปั้นจั่นmobile ก็ใช้แบบเดียวกัน
3.3 สำหรับเสาเข็มขนาดใหญ่ จะใช้ 2 เสาเข็มเชื่อมกันโดยการตอกเสาแรกลงไปให้สุดไม่ต้องนับ blow count ซึ่งในการตอกเสาเข็มใดๆจำเป็นต้องมีหมวกตอกเสาเข็มและกระสอบหรือท่อนไม้เพื่อป้องกันการตีอัดหัวเสาเข็มแตก
3.4 เสาเข็มท่อนที่สองนำมาต่อกับท่อนแรกด้วยการเชื่อมโดยมีแผ่นเชื่อมรอง
การเชื่อมเสาเข็มสองต้น
3.5 ตอกลงไปเรื่อยๆจนกว่าจะกะว่าช่วงไหนควรเริ่มนับ blow count ส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่าช่วงที่ตอกลงยากหรือช่วงที่ใกล้สุด
3.6 การนับ blow count ซึ่งมาจากรายการคำนวณของวิศวกรมาแล้ว การนับ blow count จะทำให้รู้ว่าเสาเข็มต้นนั้นๆจะรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐานหรือไม่
การนับ blow count มีวิธีดังนี้ ยกตัวอย่าง รายการคำนวนจะบอกเช่น ตอก 10 ครั้งต้องมีระยะการจมห้ามต่ำกว่า 3 cm โดยน้ำหนัก 1 ตัน ยกสูง 50 cm จึงจะผ่านมาตรฐาน ในการตอกสมมติว่าตอกลงไป 10 ครั้ง จมไป 4 cm ก็ต้องเริ่มนับใหม่ จนกว่าจะน้อยกว่า 3 cm ต่อเนื่องกัน 3 set จึงจะถือว่าผ่าน
สภาพเสาเข็มที่ตอกเสร็จ
ถ้าการตอกลงไปเสาเข็มความยาวไม่พอจึงใช้เสาส่ง (เสาเล็กๆ) ช่วยตอกลง ถ้ายังไม่พอต้องเพิ่มเสาข้างๆใหม่ตามคำแนะนำของวิศวกร
ผู้บังคับปั้นจั่นตอกเสาเข็ม
4. ขั้นตอนการย้ายปั้นจั่น
รถเทรลเลอร์บรรทุกเครื่องจักรขนาดใหญ่